วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 11

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 9

วิธีสืบค้น opac เบื่องต้น

คลิกรายละเอียด

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 8

คลิกรายละเอียด

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 6

OPAC คืออะไร

OPAC (Online Public Access Catalog) คือ ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของ
ห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับ OPAC ของสำนักหอสมุดกลางนี้ สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศครอบคลุมห้องสมุดรวม 3 แห่ง ได้แก่ สำนักหอสมุดกลาง หอสมุด มศว องครักษ์ และห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ทั้งนี้หอสมุด มศว องครักษ์ จะเรียกระบบสืบค้นนี้ว่า IPAC (Internet Public Access Catalog)
ซึ่งต่างจาก OPAC ตรงที่สามารถ
เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตได้จากหน้าจอที่สืบค้น

ทำไมต้องสืบค้น OPAC
เพื่อทราบว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการหรือไม่
เพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากร
สารสนเทศก่อนตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ

เพื่อทราบเลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
ก่อนที่จะไปหาตัวเล่มบนชั้น

เพื่อใช้บริการอัตโนมัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
ได้แก่ การจอง การยืมต่ออัตโนมัติ การตรวจสอบข้อมูลการยืม และการรวบรวม
รายการบรรณานุกรม

จะใช้ OPAC ได้ที่ใด
สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการภายในห้องสมุด หรือ
สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเข้าใช้จากเว็บไซต์
ของสำนักหอสมุดกลางที่
http://lib.swu.ac.th จากเว็บไซต์ของหอสมุด มศว
องครักษ์ที่
http://oklib.swu.ac.th หรือเข้าถึง OPAC โดยตรงได้ที่
http://library.swu.ac.th



ที่มา http://lib.swu.ac.th/opac/main_a1.php

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

WEB OPAC (Online Public Access Catalog - OPAC)




WEB OPAC (Online Public Access Catalog - OPAC) เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรภายในห้องสมุดนั้น เช่น หนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง แหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ บาร์โค้ด ISBN ฯลฯ ซึ่งใช้หลักการสืบค้นเช่นเดียวกับการสืบค้นด้วยบัตรรายการในอดีต










ห้องสมุดทุกแห่งจัดเครื่อง คอมพิวเตอร์ ไว้สำหรับค้นหาทรัพยากรของห้องสมุด โดยได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ประจำอยู่ตามห้องและชั้นต่างๆ ภายในห้องสมุด นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการ ยังสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดจากภายนอกผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตของมหาวิทยาลัย หรือค้นหาภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยก็ได้ สามารถค้นหาได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่

นอกจากนั้นฐานข้อมูล OPAC ยังช่วยสมาชิกของห้องสมุด ตรวจสอบประวัติการยืมทรัพยากร, ยืมต่อผ่านระบบออนไลน์ และจองทรัพยากรห้องสมุดผ่าน Web OPAC ได้อีกด้วย เหมือนระบบธนาคารออนไลน์ค่ะ ที่ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมเองได้









ห้อง สมุดแต่ละแห่งจัดทำ WEB OPAC ของตนเอง และเลือกใช้โปรแกรมแตกต่างกันด้วย ดังนั้นลักษณะ รายละเอียด และการใช้งาน WEB OPAC ย่อมแตกต่างกัน ห้องสมุดหรือสถาบันการศึกษาจึงจัดอบรมการใช้ WEB OPAC ให้แก่นักศึกษาใหม่ และบุคลากร นอกจากนั้นยังจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าห้องสมุดมีอะไรให้บริการบ้าง บริการแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ข้อมูลที่ต้องการสามารถค้นหาได้ที่ไหน และจะค้นหาอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด








การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับ OPAC หมายถึงการพัฒนาผู้ใช้ให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องทรัพยากรสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ คู่มือช่วยการค้นคว้าและกลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความรู้ความสามารถและเกิดทักษะในการสืบค้นสารสนเทศ ที่ต้องการได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังเป็นการให้การศึกษาด้วยตนเองตลอดชีวิต ผู้ใช้สามารถที่จะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองแม้ว่าจะจบการศึกษาแล้วก็ตาม

ที่มา รายละเอียด

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4

ความรู้เบื้องต้นและเทคนิคการค้นหา จาก WEB OPAC

1. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ มีดังนี้

- ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง หมายถึง ค้นหาจากชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้แต่งหรือผลิตสิ่งพิมพ์

ยกตัวอย่าง เช่น

ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น “Judith G. Voet” ต้องพิมพ์คำค้นเป็น “Voet, Judith G.” หรือ “Voet, Judith” หรือ “Voet”

ชื่อคนไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น “ณัฐ ภมรประวัติ (Natth Bhamarapravati)” ต้องพิมพ์คำค้น “ณัฐ” สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น “Natth” สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ

- ค้นหาจากชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของสิ่งพิมพ ์ ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ยกตัวอย่าง เช่น

แดจังกึม หรือ Lover in paris เป็นต้น

- ค้นหาจากชื่อวารสาร หมายถึง ชื่อของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

ยกตัวอย่าง เช่น

เคมีน่ารู้ หรือ Food Science

- ค้นหาจากหัวเรื่อง หมายถึง คำ วลีที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ หรืออาจจะเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา

ยกตัวอย่าง เช่น

ห้องสมุด – การบริหาร หรือ Library – administrative

- ค้นหาจากคำสำคัญ หมายถึง คำวลี ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งหากค้นด้วยคำสำคัญ ระบบจะทำการค้นหาคำ ที่อยู่ในชื่อเรื่อง

ยกตัวอย่าง เช่น การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy


2. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นบทความวารสารไทย มีดังนี้

- ค้นหาจากชื่อผู้แต่งหมายถึง ค้นหาจากชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้เขียนบทความ

ยกตัวอย่าง เช่น วิลาวัณย์ โต๊ะเอี่ยม

ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น “Douglas R. Smucker” ต้องพิมพ์คำค้นเป็น “Smucker, Douglas R.” หรือ “Smock, William” หรือ “Smock”

ชื่อคนไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น “กุลธิดา ท้วมสุข” ต้องพิมพ์คำค้น “กุลธิดา” สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น “Kultida” สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ

- ค้นหาจากชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของบทความ ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุดมีชีวิต หรือ Netlibrary ebooks

- ค้นหาจากชื่อวารสาร หมายถึง ชื่อของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ผลการค้นที่ได้จะเป็นรายการดัชนีของบทความที่ตีพิมพ์ในชื่อวารสารที่ค้นหา

ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science

- ค้นหาจากหัวเรื่อง หมายถึง คำ วลีที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ หรืออาจจะเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา

ยกตัวอย่าง เช่น ต่อมน้ำเหลือง, โรค–การวินิจฉัย

- ค้นหาจากคำสำคัญ หมายถึง คำวลี ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งหากค้นด้วยคำสำคัญ ระบบจะทำการค้นหาคำ ที่อยู่ในชื่อเรื่อง

ยกตัวอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันเสื่อม

ที่มา รายละเอียด

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

การค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ โดยใช้ Web OPAC มีเมนูการค้นหาแยกตามประเภทของทรัพยากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. Books and serials ฐานข้อมูลหนังสือ

เป็นหน้าจอการค้นหา สิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง งานวิจัย วิทยานิพนธ์ Project Report เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ ตลอดจนสื่อโสตทัศนศึกษาต่างๆ เช่น เทป ซีดีรอม สไลด์ ฯลฯ ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ

2. Journal Indexing ฐานข้อมูลดัชนีวารสาร

เป็นหน้าจอการค้นหาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องหรือวารสารที่ห้องสมุดจัดให้บริการ


วิธีการค้นหาทรัพยากร จำแนกตามทางเลือกที่มีใน WEB OPAC

1. Books and serials ฐานข้อมูลหนังสือต่างๆ มีทางเลือกในการค้นหา เช่น

1.1 ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง [Auther]

1.2 ค้นหาจากชื่อเรื่อง [Title]

1.3 ค้นหาจากชื่อวารสาร [Title Journal]

1.4 ค้นหาจากหัวเรื่อง [Subject]

1.5 ค้นหาจากคำสำคัญ [Keyword]

1.8 ค้นหาจากเลขหมู่ [Call Number]


2. การสืบค้น Journal Indexing ฐานข้อมูลดัชนีวารสารมีทางเลือกในการค้นหา เช่น

2.1 ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง [Auther]

2.2 ค้นหาจากชื่อเรื่อง [Title]

2.3 ค้นหาจากชื่อวารสาร [Title Journal]

2.4 ค้นหาจากหัวเรื่อง [Subject]

2.5 ค้นหาจากคำสำคัญ [Keyword]


วิธีการค้นหาทรัพยากร จำแนกตามประเภทของสิ่งพิมพ์

1. การสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ มีทางเลือกในการค้นหา เช่น

1.1 ค้นหาวิทยานิพนธ์

1.2 ค้นหางานวิจัย

ที่มา รายละเอียด

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มมีใช้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษ ผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตได้

ระบบ OPAC ที่ใหญ่ที่สุดคือระบบฐานข้อมูลของ WorldCat

ที่มา รายละเอียด

ข่าววันนี้ (ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 1 )

------------------------------------


ที่มา http://board.postjung.com/486801.html

การสรุปผลประจำวัน เสปน ชนะ เยอรมัน 1- 0 การแข่งขันบอลฟุตบอลโลก 2010

ภาพไฮไลท์ การแข่งแข่งฟุตบอลโลก 2010 รอบชิงชนะเลิศ เสปน vs เยอรมัน 1-0
เสปนเข้ารอบชิงชนะเลิศรอบต่อไป เมื่อคืนที่ผ่านมา


บาสเตียน ชไวน์สไตเกอร์ พุ่งเสียบบอลจาก เปโดร โรดริเกซ


จังหวะที่ ดาบิด บีย่า พุ่งเข้าหาบอลหวังทำประตู


การ์เลส ปูโยล โถมเข้ามาโขกประตูชัยมห้ สเปน ดับ เยอรมัน 1-0


สองอารมณ์ที่แตกต่างของนักเตะทั้งสองทีม


บิเซนเต้ เดล บอสเก้ กุนซือสเปน เข้าไปจับมือกับ
โยอัคคิม เลิฟ เทรนเนอร์เยอรมัน หลังจบเกม